Kledthai.com

ตะกร้า 0

ความ(ไม่)เป็นสมัยใหม่: ความเปลี่ยนแปลงและย้อนแย้งของไทย

ISBN: 9789743159527

ผู้แต่ง : ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ : บรรณาธิการ

ผู้แปล : -

สำนักพิมพ์ : ศยาม

ปีที่พิมพ์ : 2560

จำนวนหน้า : 246

พร้อมส่ง
ISBN:
9789743159527
ราคาพิเศษ ฿189.00 ราคาปรกติ ฿210.00

หนังสือเรื่อง ความ(ไม่)เป็นสมัยใหม่: ความเปลี่ยนแปลงและย้อนแย้งของไทย เป็นผลงานจากทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย  (สกว.) ซึ่งมีศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ อาภรส์สุวรรณ เมธีวิจัยอาวุโส สกว. เป็นหัวหน้าโครงการ และมีคณะผู้วิจัยรวม 7 ท่าน สำหรับทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย สกว. ได้ให้การสนับสนุนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ในหลากหลายสาขาวิชา ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยยกย่องผู้รับทุนเป็น “เมธีวิจัยอาวุโส สกว.” มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนนักวิจัยอาวุโสที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ให้สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีความสามารถทางวิชาการสูงให้แก่ประเทศโดยเน้นหนักในการพัฒนาทีมงาน พัฒนาผลงาน และพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่เพื่อสร้างศักยภาพเชิงปัญญาระยะยาวของชาติ ด้วยองค์ประกอบดังกล่าวทำให้การตั้งโจทย์วิจัยต้องกว้างและครอบคลุมเนื้อหาและวิธีการที่หลากหลายทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ให้ได้มากที่สุด

ประเด็นปัญหาเรื่องความเป็นสมัยใหม่ เป็นเรื่องที่ครอบคลุมเนื้อหาและพัฒนาการของสังคมไทยที่น่าสนใจเรื่องหนึ่ง มีเนื้อเรื่องกว้างขวางและมีความต่อเนื่องอันยาวนาน ตั้งแต่การเกิดปรากฏการณ์ของความเป็นสมัยใหม่ในอดีตมาถึงปัจจุบัน และสืบเนื่องต่อไปยังอนาคตกาลด้วย ในที่นี้ความหมายของความเป็นสมัยใหม่จึงไม่ได้เคร่งครัดไปทางหนึ่งทางใดอย่างเด็ดขาด ไม่ยึดถือเอาเงื่อนเวลาของประวัติศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงที่นำมาสู่การเกิดนวัตกรรมและรูปแบบสังคมแบบใหม่ต่างๆ เป็นที่ตั้ง หากเน้นไปที่ให้ผู้วิจัยค้นหาความหมายในประเด็นที่สนใจและมีความถนัดว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงและมีพัมนาการอย่างไรในสังคมไทย

กล่าวโดยรวมจากการศึกษาวิจัย พบว่าพัฒนาการของการทำให้เป็นสมัยใหม่ของไทยนั้น ดำเนินไปในลักษณะของการสร้างความขัดกัน ซ้อนทับและกีดกัน กระทั่งขัดขวางความเป็นสมัยใหม่เสียเองด้วย ความขัดแย้งและขัดกันดังกล่าว สะท้อนการคงอยู่และต่อเนื่องของลักษณะโครงสร้างทางอำนาจในสังคมว่ามีเนื้อหาและความเป็นมาและความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร น่าสนใจยิ่งว่าหากพิจารณาในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ ทำให้สามารถเข้าใจและมองเห็นความต่อเนื่องของความคิดและการปฏิบัติว่าด้วยความ(ไม่)เป็นสมัยใหม่ในสังคมไทยได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นคุณูปการอันหนึ่งของการศึกษานี้ หากศึกษาให้ลุ่มลึกและหลากหลายมากขึ้นรวมทั้งมีการศึกษาเปรียบเทียบกับสังคมอื่นๆ จะช่วยให้เห็นคำตอบและแนวทางในการเปลี่ยนผ่านสังคมไทยว่าจะดำเนินไปอย่างไรได้ในระดับหนึ่งด้วย.

หนังสือเรื่อง ความ(ไม่)เป็นสมัยใหม่: ความเปลี่ยนแปลงและย้อนแย้งของไทย เป็นผลงานจากทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย  (สกว.) ซึ่งมีศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ อาภรส์สุวรรณ เมธีวิจัยอาวุโส สกว. เป็นหัวหน้าโครงการ และมีคณะผู้วิจัยรวม 7 ท่าน สำหรับทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย สกว. ได้ให้การสนับสนุนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ในหลากหลายสาขาวิชา ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยยกย่องผู้รับทุนเป็น “เมธีวิจัยอาวุโส สกว.” มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนนักวิจัยอาวุโสที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ให้สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีความสามารถทางวิชาการสูงให้แก่ประเทศโดยเน้นหนักในการพัฒนาทีมงาน พัฒนาผลงาน และพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่เพื่อสร้างศักยภาพเชิงปัญญาระยะยาวของชาติ ด้วยองค์ประกอบดังกล่าวทำให้การตั้งโจทย์วิจัยต้องกว้างและครอบคลุมเนื้อหาและวิธีการที่หลากหลายทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ให้ได้มากที่สุด

ประเด็นปัญหาเรื่องความเป็นสมัยใหม่ เป็นเรื่องที่ครอบคลุมเนื้อหาและพัฒนาการของสังคมไทยที่น่าสนใจเรื่องหนึ่ง มีเนื้อเรื่องกว้างขวางและมีความต่อเนื่องอันยาวนาน ตั้งแต่การเกิดปรากฏการณ์ของความเป็นสมัยใหม่ในอดีตมาถึงปัจจุบัน และสืบเนื่องต่อไปยังอนาคตกาลด้วย ในที่นี้ความหมายของความเป็นสมัยใหม่จึงไม่ได้เคร่งครัดไปทางหนึ่งทางใดอย่างเด็ดขาด ไม่ยึดถือเอาเงื่อนเวลาของประวัติศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงที่นำมาสู่การเกิดนวัตกรรมและรูปแบบสังคมแบบใหม่ต่างๆ เป็นที่ตั้ง หากเน้นไปที่ให้ผู้วิจัยค้นหาความหมายในประเด็นที่สนใจและมีความถนัดว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงและมีพัมนาการอย่างไรในสังคมไทย

กล่าวโดยรวมจากการศึกษาวิจัย พบว่าพัฒนาการของการทำให้เป็นสมัยใหม่ของไทยนั้น ดำเนินไปในลักษณะของการสร้างความขัดกัน ซ้อนทับและกีดกัน กระทั่งขัดขวางความเป็นสมัยใหม่เสียเองด้วย ความขัดแย้งและขัดกันดังกล่าว สะท้อนการคงอยู่และต่อเนื่องของลักษณะโครงสร้างทางอำนาจในสังคมว่ามีเนื้อหาและความเป็นมาและความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร น่าสนใจยิ่งว่าหากพิจารณาในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ ทำให้สามารถเข้าใจและมองเห็นความต่อเนื่องของความคิดและการปฏิบัติว่าด้วยความ(ไม่)เป็นสมัยใหม่ในสังคมไทยได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นคุณูปการอันหนึ่งของการศึกษานี้ หากศึกษาให้ลุ่มลึกและหลากหลายมากขึ้นรวมทั้งมีการศึกษาเปรียบเทียบกับสังคมอื่นๆ จะช่วยให้เห็นคำตอบและแนวทางในการเปลี่ยนผ่านสังคมไทยว่าจะดำเนินไปอย่างไรได้ในระดับหนึ่งด้วย....

บทนำ : จากความเป็นสมัยใหม่มาสู่ความ(ไม่)เป็นสมัยใหม่ | ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ

วิลลา วิลัยทอง | โรงเรียนเสริมสวยการตลาดความงามและ “ผมสวย” แบบนำสมัยในสังคมไทยยุค “พัฒนา”

ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ | ภาพเสนอความเป็นเมืองในวรรณกรรมช่วง 2475-สงครามโลกครั้งที่ 2

ชาตรี ประกิตนนทการ | ประวัติศาสตร์โรงเรียนสถาปัตยกรรมยุคแรก: การออกแบบสถานะและช่วงชั้นสถาปนิกในสังคมสมัยใหม่

ปฤณ เทพนรินทร์ | การสร้างความเป็นพลเมืองยุคเปลี่ยนผ่าน: ข้อสังเกตเบื้องต้นจากกรณีศึกษาวิชาสังคมธรรมาธิปไตย

โชคชัย วงษ์ตานี | ปาตานีศึกษา: ข้อมูลใหม่เรื่องวิทยาศาสตร์แพทยศาสตร์ การเหยียบดวงจันทร์และอพอลโล่ 11 ความ(ไม่)เป็นสมัยใหม่อันเกิดจากการคำนวณ การบันทึกและการถกเถียง

สุรพศ ทวีศักดิ์ | ความคิดทางการเมืองของพุทธศาสนายุคต้น: กำเนิดและพัฒนาการรัฐพุทธศาสนายุคอโศกและยุคกลาง

เก่งกิจ กิติเรียงลาภ | สถาบันความรู้ด้านไทยศึกษาและมานุษยวิทยาแบบอเมริกันในประเทศไทย

เขียนรีวิวสินค้าของคุณเอง
คุณกำลังรีวิว:ความ(ไม่)เป็นสมัยใหม่: ความเปลี่ยนแปลงและย้อนแย้งของไทย
คะแนนของคุณ