Kledthai.com

ตะกร้า 0

อิเหนา ร้อยแก้วประกอบคำกลอน (ศรีปัญญา)

ISBN: 9786164370630

ผู้แต่ง : พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒

ผู้แปล : พิกุล ทองน้อย: ถอดความและเรียบเรียง

สำนักพิมพ์ : ศรีปัญญา

ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๖๒

จำนวนหน้า : 440

ซีรี่ส์:
-
พร้อมส่ง
ISBN:
9786164370630
ราคาพิเศษ ฿315.00 ราคาปรกติ ฿350.00

สำนักพิมพ์ศรีปัญญา ได้นำบทประพันธ์เรื่องอิเหนา สำนวนร้อยแก้วประกอบคำกลอนของ คุณพิกุล ทองน้อย กลับมาพิมพ์ขึ้นใหม่อีกครั้ง ด้วยเห็นว่าหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ดีเหมาะแก่ผู้สนใจใฝ่รู้ จะได้ศึกษา เหมาะแก่ ครูบาอาจารย์ นิสิต นักศึกษา จะใช้ประกอบในการเล่าเรียน เนื่องจากเป็นอีกสำนวนหนึ่งที่อ่านง่ายเข้าใจง่ายไม่ยากจนเกินไป เหมาะแก่การปรับพื้นฐานเพื่อต่อยอดในการกลับไปอ่านวรรณคดีเรื่อง อื่นๆ ต่อไป

สารบัญ

ถ้อยคำแถลงสำนักพิมพ์
คำนำผู้เขียน ฉบับพิมพ์ครั้งแรก
อิเหนา ร้อยแก้วประกอบคำกลอน

อิเหนา เป็นวรรณคดีที่สำคัญเรื่องหนึ่งของไทย เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เดิมทีนิทานอิเหนาเข้ามามในเมืองไทย ตามหลักฐานที่พบแน่นอนนั้นเชื่อกันว่าเข้ามาในตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา มีคำกล่าวเล่าต่อๆ กันมาแต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดอยู่รายหนึ่งว่า หญิงเชลยปัตตานีซึ่งเป็นนางข้าหลวงรับใช้ในพระราชธิดาของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา (ทรงราชย์ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๒๗๕ ถึง ๒๓๐๑) เล่าเรื่องถวายเจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎพระราชธิดานั้น และเจ้าฟ้าทั้งสองได้ทรงแต่งเรื่องขึ้น แต่บางกระแสก็ว่าต่างพระองค์ต่างก็แต่งขึ้นพระองค์ละเรื่องประชันฝืมือกัน คือ..

เรื่องอิเหนาใหญ่เจ้าฟ้ากุณฑลทรงแต่ง และอิเหนาเล็กเจ้าฟ้ามงกุฎทรงแต่งโดยพระนิพนธ์ของทั้งสองพระองค์นี้ต่างดำเนินเรื่องตามเค้าโครงนิทานปันหยี ซึ่งเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์อิงพงศาวดารของชวา แต่พระนิพนธ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาทั้งสองเรื่องนี้มิได้ตกทอดมาถึงปัจจุบัน มาตอนในสมัยรัตนโกสินทร์จึงมีพระราชนิพนธ์เกิดขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ทั้งสองเรื่อง เรื่องใหญ่ได้ชื่อว่า ดาหลัง เรื่องเล็กคงชื่อว่า อิเหนา ตามนามของพระเอกในเรื่อง

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ราชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงเห็นว่าอิเหนาเป็นเรื่องที่ดีเนื้อเรื่องสนุกสนานยอกย้อน จึงได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่เป็นกลอนบทละคร และได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ท้ายเรื่องอิเหนาของพระองค์ท่านว่า

อันอิเหนาเอามาทำเป็นคำร้อง
สำหรับงานการฉลองกองกุศล
ครั้งกรุงเก่าเจ้าสตรีเธอนิพนธ์
แต่เรื่องต้นตกหายพลัดพราบไป

- จากพระราชนิพันธ์อิเหนาเล่ม ๔ หน้า ๑๒๙๕-๑๒๙๖
ฉบับ พ.ศ. ๒๔๗๘ โรงพิมพ์ห้องสมุดไท

จากหลักฐานอันนี้ อย่างน้อยก็รับรองได้ว่าเรื่องอิเหนาเล็กนั้น ได้เคยมีมาแล้วในครั้งกรุงศรีอยุธยา แต่มีหลักฐานอีกอย่างหนึ่งซึ่งรับรองอายุของเรื่องอิเหนาเล็กเช่นเดียวกัน คือเรื่อง บุณโณวาทคำฉันท์ ซึ่งพระมหานาควัดท่าทรายแต่ง ว่าด้วยการสมัสการพระพุทธบาทสระบุรีในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเหมือนกัน ตอนที่กล่าวถึงมหรสพสมโภชงานนมัสการพระพุทธบาท ท่านระบุการมหรสพและกล่าวว่า

ร้องเรื่องระเด่นโดย
บุษบาตุนาหงัน
พักพาคุหาบรร
พตร่วมฤดีโลม

เรื่องนี้บ่งตรงถึงอิเหนาเล็ก เพราะเรื่องดาหลังไม่มีว่าบุษบาถูกลักพาไปไว้ในถ้ำใดๆ อย่างที่เป็นตอนสำคัญของอิเหนาเล็ก

ในสมัยแห่งการตั้งหลักปักฐานสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นใหม่ของกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ได้ทรงพระราชนิพนธ์ทั้งอิเหนาใหญ่และอิเหนาเล็กขึ้นเพื่อฟื้นฟูวรรณคดีขึ้นใหม่ รูปแบบรากฐานต่างๆ ราชการงานเมืองและอื่นๆ เป็นการฟื้นฟูตามแบบอย่งกรุงศรีอยุธยาแทบทั้งสิ้น ต่อมาถึงสมัยรัชกาลที่ ๒ ได้ทรงพระราชนิพนธ์อิเหนาเล็กขึ้นใหม่อีกสำนวนหนึ่ง ซึ่งปรากฏว่าเป็นชิ้นงานที่วิเศษทางกวีนิพนธ์และมีชื่อเสียงโด่งดังแพร่หลายมาตลอดจนบัดนี้ และเป็นแบบฉบับสำหรับเรื่องอิเหนาสำนวนอื่นเลียนตามมาอีกมากด้วยกัน

เขียนรีวิวสินค้าของคุณเอง
คุณกำลังรีวิว:อิเหนา ร้อยแก้วประกอบคำกลอน (ศรีปัญญา)
คะแนนของคุณ