คุณยังไม่มีสินค้าในรถเข็น
มรดกความทรงจำแห่งเมืองศรีสัชนาลัย-สุโขทัย ประมวลจารึกสมัยพระยาลิไทย
ดร.ตรงใจ หุตางกูร
สถานะของสินค้า : สินค้าพร้อมส่ง
ราคาปกติ: 250 บาท
Special Price 225 บาท
ลด 25.00 บาท (10%)
หนังสือเล่มนี้ เกิดจากความพยายามของนักวิชาการกลุ่มหนึ่งที่สนใจจารึกศึกษาและเอกสารโบราณ โดยมีศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ให้การสนับสนุน ความตั้งใจดังกล่าว เป็นไปเพื่อการศึกษาเนื้อหาของกลุ่มจารึกสมัยพระยาลิไทย ทั้งในด้านการตรวจสอบทบทวนและแก้ไขคำอ่านเดิม รวมถึงการแปลใหม่ คือ การแปลคำจารึกวัดป่ามะม่วงภาษาเขมร เป็นภาษาไทย โดยใช้พจนานุกรมภาษาเขมรโบราณที่พิมพ์เผยแพร่ล่าสุด และการแปลคำจารึกวัดป่ามะม่วงภาษาบาลี เป็นภาษาไทย ด้วยสำนวนที่อ่านเข้าใจง่าย นอกจากนี้ ยังได้อธิบายศัพท์ยาก และได้วิเคราะห์เนื้อหาอันเกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์สุโขทัยอีกด้วย จุดประสงค์อีกประการหนึ่งของนักวิชาการกลุ่มนี้ คือ การแสดงให้เห็นว่าจารึกเป็นแหล่งข้อมูลที่ให้ความรู้ด้านต่างๆ เกี่ยวกับรัชกาลพระยาลิไทย อาทิ พระราชประวัติ พระราโชบายด้านการเมืองการปกครอง การพระศาสนา และคติความเชื่อในสังคมสุโขทัย ตลอดจนข้อมูลเรื่องอักขรวิทยาและอักษรศาสตร์ ซึ่งหายไปจากการรับรู้ของคนไทยแล้ว อย่างไรก็ตาม ผลงานที่นำเสนอนี้อาจมีบางประเด็นที่ผู้เขียนบทความ แต่ละท่านตีความแตกต่างไปจาก “สุโขทัยคดีกระแสหลัก” ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลและมุมมองที่ต่างไปจาการศึกษาของ “ฉบับหลวง” (อาทิ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ สำนักหอสมุดแห่งชาติ หรือ ราชบัณฑิตยสถาน เป็นต้น) ดังนั้น ถ้าจะเปรียบไป ผลงานชิ้นนี้ จึงมีฐานะเป็นเพียง “ฉบับเชลยศักดิ์” ที่ถือเป็นการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้จากการศึกษากระแสหลัก ให้องค์ความรู้เรื่อง “สุโขทัยคดี” เกิดความงอกเงยไม่หยุดอยู่กับที่ และเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งสำหรับผู้สนใจจารึกศึกษาและประวัติศาสตร์สุโขทัยจากศิลาจารึก เหตุนี้ ผู้ใฝ่หาความรู้ในสุโขทัยคดี พึงต้องศึกษาเก็บเกี่ยวข้อมูลทั้งจาก “ฉบับหลวง” และ “ฉบับเชลยศักดิ์” จึงจักได้ความรู้และมุมมองใหม่ๆ เกี่ยวกับ “สุโขทัยคดีสมัยพระยาลิไทย” อย่างรอบด้าน
ข้อมูลหนังสือ
มรดกความทรงจำแห่งเมืองศรีสัชนาลัย-สุโขทัย ประมวลจารึกสมัยพระยาลิไทย
ISBN : 9786167154329
แปลจากหนังสือ :
ผู้เขียน : ดร.ตรงใจ หุตางกูร
ผู้แปล : -
สำนักพิมพ์ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
จำนวนหน้า : 262
ปีที่พิมพ์ : 2558
หนังสือเล่มนี้ เกิดจากความพยายามของนักวิชาการกลุ่มหนึ่งที่สนใจจารึกศึกษาและเอกสารโบราณ โดยมีศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ให้การสนับสนุน ความตั้งใจดังกล่าว เป็นไปเพื่อการศึกษาเนื้อหาของกลุ่มจารึกสมัยพระยาลิไทย ทั้งในด้านการตรวจสอบทบทวนและแก้ไขคำอ่านเดิม รวมถึงการแปลใหม่ คือ การแปลคำจารึกวัดป่ามะม่วงภาษาเขมร เป็นภาษาไทย โดยใช้พจนานุกรมภาษาเขมรโบราณที่พิมพ์เผยแพร่ล่าสุด และการแปลคำจารึกวัดป่ามะม่วงภาษาบาลี เป็นภาษาไทย ด้วยสำนวนที่อ่านเข้าใจง่าย นอกจากนี้ ยังได้อธิบายศัพท์ยาก และได้วิเคราะห์เนื้อหาอันเกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์สุโขทัยอีกด้วย จุดประสงค์อีกประการหนึ่งของนักวิชาการกลุ่มนี้ คือ การแสดงให้เห็นว่าจารึกเป็นแหล่งข้อมูลที่ให้ความรู้ด้านต่างๆ เกี่ยวกับรัชกาลพระยาลิไทย อาทิ พระราชประวัติ พระราโชบายด้านการเมืองการปกครอง การพระศาสนา และคติความเชื่อในสังคมสุโขทัย ตลอดจนข้อมูลเรื่องอักขรวิทยาและอักษรศาสตร์ ซึ่งหายไปจากการรับรู้ของคนไทยแล้ว อย่างไรก็ตาม ผลงานที่นำเสนอนี้อาจมีบางประเด็นที่ผู้เขียนบทความ แต่ละท่านตีความแตกต่างไปจาก “สุโขทัยคดีกระแสหลัก” ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลและมุมมองที่ต่างไปจาการศึกษาของ “ฉบับหลวง” (อาทิ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ สำนักหอสมุดแห่งชาติ หรือ ราชบัณฑิตยสถาน เป็นต้น) ดังนั้น ถ้าจะเปรียบไป ผลงานชิ้นนี้ จึงมีฐานะเป็นเพียง “ฉบับเชลยศักดิ์” ที่ถือเป็นการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้จากการศึกษากระแสหลัก ให้องค์ความรู้เรื่อง “สุโขทัยคดี” เกิดความงอกเงยไม่หยุดอยู่กับที่ และเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งสำหรับผู้สนใจจารึกศึกษาและประวัติศาสตร์สุโขทัยจากศิลาจารึก เหตุนี้ ผู้ใฝ่หาความรู้ในสุโขทัยคดี พึงต้องศึกษาเก็บเกี่ยวข้อมูลทั้งจาก “ฉบับหลวง” และ “ฉบับเชลยศักดิ์” จึงจักได้ความรู้และมุมมองใหม่ๆ เกี่ยวกับ “สุโขทัยคดีสมัยพระยาลิไทย” อย่างรอบด้าน
สารบัญ
ภาคที่ ๑ ความสำคัญของรัชกาลพระลาลิไทยในประวัติศาสตร์สุโขทัย
บทที่ ๑ พระยาลิไทยกับรัฐศาสตร์เมืองสุโขทัย
บทที่ ๒ พระยาลิไทยกับลักษณะการใช้ภาษาบาลี
บทที่ ๓ พระยาลิไทยกับคตินิยมทางศาสนา
บทที่ ๔ พระยาลิไทยกับการอักษรศาสตร์อันเนื่องมาแต่ลายสือไท
ภาคที่ ๒ ประมวลจารึกสมัยพระยาลิไทย