Kledthai.com

ตะกร้า 0

เยี่ยมไทยอาหมสายเลือดของเรา

ISBN: 9789743157820

ผู้แต่ง : สารนาถ

ผู้แปล : -

สำนักพิมพ์ : ศยาม

ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2 กรกฎาคม 2555

จำนวนหน้า : 384

พร้อมส่ง
ISBN:
9789743157820
ราคาพิเศษ ฿243.00 ราคาปรกติ ฿270.00

"ภาพอัสสัมยังสดอยู่ในความจำของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเป็นชายพเนจรเดินทางนอกประเทศมาหลายแห่งแต่ไม่เคยมีที่ใดตรึงใจเหมือนอัสสัมดินแดนแห่งราชอาณาจักรไทยอาหมในประเทศอินเดีย ซึ่งข้าพเจ้าได้ไปเยี่ยมเมื่อเดือนเมษายน ๒๔๙๗

"...พี่น้องไทยอาหมในปัจจุบันนี้ได้รับการศึกษาสูงขึ้นจึงมีผู้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับความเป็นมาของชนชาติไทยมากขึ้น บุคคลที่ข้าพเจ้าได้พบ ณ เมืองโยระหัตผู้หนึ่งคือนายยู เอ็น โคหาย เป็นคนสูงอายุมากแล้ว ได้นำหนังสือที่ท่านแต่งเกี่ยวกับความเป็นมาของชาติไทยและความเป็นมาของไทยอาหมรวม ๒ เล่ม มามอบให้ข้าพเจ้า...มองหน้าตาของท่านแล้วรู้สึกว่ามีอะไรตันอยู่ในคอของตัวเองเราพบกันที่หมู่บ้านไทยแลนด์ในดินแดนที่เคยเป็นเมืองหลวงของไทยอาหมมาแล้วความรู้สึกจากสายตาที่เราทอดให้แก่กันเป็นความรู้สึกที่ข้าพเจ้าไม่สามารถจะระบายเป็นตัวอักษรไทย..."

-สารนาถ

เยี่ยมไทยอาหมสายเลือดของเรา คืองานเขียนที่เกิดขึ้นหลังเยือนดินแดนอัสสัม อินเดีย ดังที่ผู้เขียนกล่าวไว้ในคำนำฉบับพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๗ แม้หนังสือเล่มนี้จะเป็นที่ยอมรับว่าทรงคุณค่าด้วยว่าเป็นหนังสือภาษาไทยเล่มแรก (ๆ) ที่กล่าวถึงชาวอหม จนมีผู้ยกย่องให้สารนาถคือ "ผู้บุกเบิกอาหมศึกษา" แต่ก็นับว่าหาอ่านได้ยากและไม่เป็นที่รู้จักนอกวงการไท(ย) ศึกษานักกระทั่งห้องสมุดในมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ยังอัตคัด

เยี่ยมไทยอาหมสายเลือดของเรา แบ่งเป็น ๒๙ บท บทที่ ๑ และ ๒ ว่าด้วยความประทับใจเมื่อผู้เขียนได้เยือนดินแดนอัสสัมและเล่าถึงสภาพภูมิศาสตร์โดยรวม บทที่ ๓-๖ เล่าถึงดินแดนปราคโชยติษและกามรูปก่อนที่กลุ่มคนเชื้อสายไทจะเข้ามาถึง กาลนั้นกษัตริย์ปกครองล้วนเปี่ยมด้วยความเชื่อเรื่องเทพเจ้าตามลัทธิฮินดู บทที่ ๗ เริ่มมีหลักฐานเอกสารกล่าวถึงดินแดนนี้ เช่นในบันทึกของพระถังซัมจั๋ง บทที่ ๘ กล่าวถึงอวสานของดินแดนกามรูปเมื่อทัพมุสลิมและกลุ่มคนไทเริ่มเข้ามามีบทบาท บทที่ ๙-๑๐ ใน "บุราณจี" หรือตำนานของชาวอาหมเชื่อว่าเทพเจ้าจากสวรรค์ลงมาปกครองกลุ่มตน บทที่ ๑๑-๒๕ เล่าถึงกษัตริย์ในราชวงศ์อาหมและเหตุการณ์สำคัญในสมัยต่างๆ ตั้งแต่เมื่อเสือก้าฟ้าปฐมกษัตริย์พาผู้คนข้ามเทือกเขาปาดไก่เข้ามาตั้งถิ่นฐานราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ จนถึงเมื่ออังกฤษเข้าครอบครองอย่างเต็มรูปแบบในปี พ.ศ. ๒๓๘๓ บทที่ ๒๖-๒๙ ว่าด้วยข้อคิดเห็นและข้อถกเถียงเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ไท ทั้งจากนักวิชาการอาหมและนักวิชาการตะวันตก โดยยกกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ในดินแดนอัสสัมมาพอสังเขป และนำเสนอภาพรวมของวิถีชีวิตในด้านต่างๆ ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของไทยอาหม

เขียนรีวิวสินค้าของคุณเอง
คุณกำลังรีวิว:เยี่ยมไทยอาหมสายเลือดของเรา
คะแนนของคุณ