Kledthai.com

ตะกร้า 0

กระทู้ดอกทอง

ISBN: 9786167158211

ผู้แต่ง : คำ ผกา

ผู้แปล : -

สำนักพิมพ์ : อ่าน

ปีที่พิมพ์ : 2556

จำนวนหน้า : 478

พร้อมส่ง
ISBN:
9786167158211
ราคาพิเศษ ฿315.00 ราคาปรกติ ฿350.00

หากเราพิจารณาถึงการรับรู้ของคนในสังคม ดูเหมือนจะมีความคิดความเชื่อซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปอยู่ว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์คือสิ่งสะท้อนภาพความเป็นจริงของสังคม ดังนั้นเอง แบบเรียนวิชาประวัติศาสตร์ อัตชีวประวัติตำนาน หรือกระทั่งวรรณกรรมบางเรื่อง จึงมักถูกนำมาผลิตซ้ำให้เป็นที่รับรู้ในฐานะความเป็นจริงทางการเมือง ดังจะเห็นได้ชัดจากข้อสอบข้างต้นที่ผูกโยงให้ละครเรื่องหนึ่งกลายเป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุดของภาพสะท้อนความเป็นไทยโดยปราศจากการตั้งคำถามถึงอคติ การทำให้จำ และการทำให้ลืม ที่มีอยู่ในละครเรื่องนั้นๆ และแน่นอนว่า ในระยะยาว ความเชื่อทางการเมืองแบบหนึ่งย่อมส่งผลต่อการกระทำของเราในฐานะคนดีของประเทศไปโดยปริยาย ภาวะที่เกิดขึ้นทำให้นึกถึงหนังสือเล่มนี้ที่ชื่อ กระทู้ดอกทอง ซึ่งเขียนโดยนักเขียนคำเมืองฝีปากกล้า ลักขณา ปันวิชัย ภายใต้นามปากกา "คำ ผกา" ที่แปลว่า "ดอกทอง" (หรือจะเรียกเธอว่าเป็นนักดอกทองวิทยาก็ได้) เป็นหนังสือรวมบทวิจารณ์นวนิยาย "น้ำเน่า" ที่เขียนขึ้นต่างยุคต่างสมัย โดยดัดแปลงมาจากข้อเสนอในร่างวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกที่ญี่ปุ่นของคำ ผกา เอง...

เท่ากับเธอยืนยันว่าวรรณกรรมนี่แหละที่ปลดปล่อย "ความจริง" ให้ออกมาโลดแล่นบนแผ่นกระดาษทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว แม้กระทั่งในนวนิยายน้ำเน่าที่เธอเลือกวิจารณ์ ปัญหาคือเราจะเข้าถึงความจริงที่ว่านั้นด้วยวิธีการใด คำตอบทั้งหมดอยู่ใน กระทู้ดอกทอง นั่นเอง แม้ว่าเป้าหมายของคำ ผกาในการเขียน กระทู้ดอกทอง คือการวิจารณ์นวนิยายน้ำเน่าร่วมสมัยและแนวคิดเรื่องความเป็น "กุลสตรี" ของไทย ว่าแท้จริงแล้วมีลักษณะเป็น "ดอกทอง" อย่างไร ด้วยวิธีการถอดรื้อโครงสร้าง อ่านกรอบคิดเบื้องหลังอันแอบซ่อนอยู่ระหว่างบรรทัด และตั้งคำถามดอกทองตีแสกหน้าไปที่ตัวละครและผู้เขียนนิยายหลากหลายเล่ม แต่เอาเข้าจริงแล้ว ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ ทั้งตัวคำวิจารณ์และผลอันเกิดจากคำวิจารณ์นั้นกลับมีขอบเขตที่กว้างใหญ่และกว้างไกลกว่าเรื่องทำนองหญิงร้ายชายชั่ว ผัวๆ เมียๆ ดอกเงิน ดอกทองมากนัก ถึงที่สุดแล้วเป้าหมายหลักที่เธอมุ่งโจมตีด้วยปลายปากกาก็คือวาทกรรมเรื่อง "ความเป็นไทย" และ "แบบไทยๆ" ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาพร้อมๆ กับวาทกรรม "ความเป็นหญิงไทย" นั่นเอง....

หากเราพิจารณาถึงการรับรู้ของคนในสังคม ดูเหมือนจะมีความคิดความเชื่อซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปอยู่ว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์คือสิ่งสะท้อนภาพความเป็นจริงของสังคม ดังนั้นเอง แบบเรียนวิชาประวัติศาสตร์ อัตชีวประวัติตำนาน หรือกระทั่งวรรณกรรมบางเรื่อง จึงมักถูกนำมาผลิตซ้ำให้เป็นที่รับรู้ในฐานะความเป็นจริงทางการเมือง ดังจะเห็นได้ชัดจากข้อสอบข้างต้นที่ผูกโยงให้ละครเรื่องหนึ่งกลายเป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุดของภาพสะท้อนความเป็นไทยโดยปราศจากการตั้งคำถามถึงอคติ การทำให้จำ และการทำให้ลืม ที่มีอยู่ในละครเรื่องนั้นๆ และแน่นอนว่า ในระยะยาว ความเชื่อทางการเมืองแบบหนึ่งย่อมส่งผลต่อการกระทำของเราในฐานะคนดีของประเทศไปโดยปริยาย ภาวะที่เกิดขึ้นทำให้นึกถึงหนังสือเล่มนี้ที่ชื่อ กระทู้ดอกทอง ซึ่งเขียนโดยนักเขียนคำเมืองฝีปากกล้า ลักขณา ปันวิชัย ภายใต้นามปากกา "คำ ผกา" ที่แปลว่า "ดอกทอง" (หรือจะเรียกเธอว่าเป็นนักดอกทองวิทยาก็ได้) เป็นหนังสือรวมบทวิจารณ์นวนิยาย "น้ำเน่า" ที่เขียนขึ้นต่างยุคต่างสมัย โดยดัดแปลงมาจากข้อเสนอในร่างวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกที่ญี่ปุ่นของคำ ผกา เอง...

เท่ากับเธอยืนยันว่าวรรณกรรมนี่แหละที่ปลดปล่อย "ความจริง" ให้ออกมาโลดแล่นบนแผ่นกระดาษทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว แม้กระทั่งในนวนิยายน้ำเน่าที่เธอเลือกวิจารณ์ ปัญหาคือเราจะเข้าถึงความจริงที่ว่านั้นด้วยวิธีการใด คำตอบทั้งหมดอยู่ใน กระทู้ดอกทอง นั่นเอง แม้ว่าเป้าหมายของคำ ผกาในการเขียน กระทู้ดอกทอง คือการวิจารณ์นวนิยายน้ำเน่าร่วมสมัยและแนวคิดเรื่องความเป็น "กุลสตรี" ของไทย ว่าแท้จริงแล้วมีลักษณะเป็น "ดอกทอง" อย่างไร ด้วยวิธีการถอดรื้อโครงสร้าง อ่านกรอบคิดเบื้องหลังอันแอบซ่อนอยู่ระหว่างบรรทัด และตั้งคำถามดอกทองตีแสกหน้าไปที่ตัวละครและผู้เขียนนิยายหลากหลายเล่ม แต่เอาเข้าจริงแล้ว ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ ทั้งตัวคำวิจารณ์และผลอันเกิดจากคำวิจารณ์นั้นกลับมีขอบเขตที่กว้างใหญ่และกว้างไกลกว่าเรื่องทำนองหญิงร้ายชายชั่ว ผัวๆ เมียๆ ดอกเงิน ดอกทองมากนัก ถึงที่สุดแล้วเป้าหมายหลักที่เธอมุ่งโจมตีด้วยปลายปากกาก็คือวาทกรรมเรื่อง "ความเป็นไทย" และ "แบบไทยๆ" ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาพร้อมๆ กับวาทกรรม "ความเป็นหญิงไทย" นั่นเอง....

เขียนรีวิวสินค้าของคุณเอง
คุณกำลังรีวิว:กระทู้ดอกทอง
คะแนนของคุณ