คุณยังไม่มีสินค้าในรถเข็น
หนังสือพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) "๖ เล่ม"
พระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
สถานะของสินค้า : สินค้าพร้อมส่ง
ราคาปกติ: 700 บาท
Special Price 630 บาท
ลด 70.00 บาท (10%)
๑.สมาธิ : ฐานสู่สุขภาพจิตและสติปัญญาหยั่งรู้
ลักษณะเด่นที่สุดของจิตที่เป็นสมาธิ ซึ่งสัมพันธ์กับความมุ่งหมายของสมาธิด้วยก็คือ ความควรแก่งาน หรือความเหมาะสมแก่การใช้งาน และงานที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนาก็คือ งานทางปัญญา อันได้แก่การใช้จิตที่พร้อมดีเช่นนั้นเป็นสนามปฏิบัติการของปัญญา ในการพิจารณาสภาวธรรมให้เกิดความรู้แจ้งตามเป็นจริง สมาธิ : ฐานสู่สุขภาพจิตและสติปัญญาหยั่งรู้ เล่มนี้จึงน่าจะเป็นประโยชน์ในฐานะเป็นมรรควิธี ทั้งแก่ผู้ตั้งใจบำเพ็ญสมาธิภาวนาในระดับสูง หรือแม้แต่สามัญชนทั่วไปที่ประสงค์จะได้รับความสงบร่มเย็นในวิถีชีวิตประจำวัน
๒.เชื่อกรรม รู้กรรม แก้กรรม
ถ้าสังคมของเรานิยมยกย่องวัตถุกันมากมันก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่คนจะต้องวัดดี (วัดความดีและผลดี) กันด้วยวัตถุ การที่สังคมไปนิยมยกย่องวัตถุมากไม่ใช่กรรมคนที่อยู่ในสังคมนั้นหรือ กรรมที่หมายถึงการกระทำนั้นรวมทั้งพูดและคิด ความคิดที่นิยมวัตถุนั้น เป็นกรรมใช่หรือไม่ ในหนังสือ เชื่อกรรม รู้กรรม แก้กรรม จะช่วยให้ท่านเข้าใจกรรมเหล่านี้มากยิ่งขึ้น
๓.กรณีธรรมกาย : บทเรียนเพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนา และสร้างสรรค์สังคมไทย
เนื่องในปัจจุบัน ลัทธิทุนนิยมและบริโภคนิยมได้ส่งผลกระทบต่อพระพุทธศาสนาในประเทศไทยเป็นอย่างมาก กอปรกับพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก ยังขาดความรู้และความเข้าใจในหลักธรรมและวินัย จึงเป็นการเปิดโอกาสให้นักบวชและผู้คนกลุ่มหนึ่งฉกฉวยโอกาสในการแสวงหาซึ่งลาภสักการะและยศ ด้วยการบิดเบือนหลักธรรมและวินัยให้สอดคล้องกับช่องทางผลประโยชน์ของตนและพวกพ้อง โดยอาศัยความอ่อนแอและความไม่รู้ของพุทธบริษัท
“ในเวลานี้ พุทธศาสนาในประเทศไทยอยูในระยะวิกฤต มีคณะที่สอนสัทธรรมอย่างคณะพระธรรมกายอยู่จำนวนมิใช่น้อย พระสงฆ์สาวกของพระบรมศาสดาก็มัวหมอง แม้กระนั้นยังโชคดี ที่มีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นสดมภ์หลักในยุคปัจจุบัน ที่มุ่งเผยแผ่คำสอนของพระบรมศาสดา ถึงท่านจะอาพาธอยู่เนือง ๆ แต่ก็ยังเขียนงานต่าง ๆ ออกมาเป็นแสงสว่างทางปัญญาให้ผู้คนในยุคที่เต็มไปด้วยความมืดมน ได้ศึกษาพระพุทธศาสนาอย่าลึกซึ้ง และถ่องแท้ต่อไป อย่างน้อยก็โดยเริ่มจาก กรณีพระธรรมกาย เล่มนี้”
ส.ศิวรักษ์
๔.พรที่สัมฤทธิ์แก่ผู้ดำเนินชีวิตที่ดี
ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ นั้นท่านเติบโตมาภายใต้ร่มกาสาวพัสตร์ของคณะสงฆ์สยาม ยามเมื่อสถาบันแห่งนั้นเริ่มเสื่อมทรามและคลอนแคนเรื่อยๆ มาเป็นลำดับ พระคุณเจ้าเป็นผลผลิตของระบบการศึกษาของสถาบันสงฆ์ทั้งแบบเก่าและแบบใหม่ โดยที่ท่านได้แสดงความเป็นเลิศออกมาให้ปรากฎทั้งสองทาง คือท่านได้เป็นเปรียญเอกอุแต่ยังเป็นสามเณร และได้รับเกียรตินิยมอันดับ 1 จากมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย แต่ท่านก็ไม่ได้ติดอยู่ในเกียรติยศจากทั้งสองทางนี้ พร้อมกันนี้ พระคุณท่านก็เจริญเนกขัมปฎิปทา รักษาพรหมจรรย์ไว้ได้อย่างมั่นคงตลอดจนล่วงปัจฉิมวัย
๕.สถานการณ์พระพุทธศาสนา : ทวนกระแสไสยศาสตร์
"เวลานี้ ถ้ามีใครมาถามเกี่ยวกับเหตุการณ์ร้ายในพระศาสนาที่เกิดขึ้นนี้ ต้องตอบว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ในแง่หนึ่งก็เป็นดัชนีชี้สภาพสังคมไทย
และชี้หลายอย่างหลายประการ
แง่ที่หนึ่งก็คือ ในสังคมไทยนั้น เราถือกันว่าพระสงฆ์เป็นผู้ที่มีศีลธรรมมากที่สุด
แล้วมองในทางย้อนกลับว่า ถ้าหากว่าพระสงฆ์ทื่ถือว่ามีศีลธรรมดีที่สุดในสังคมไทย ยังเสื่อมทรามถึงขนาดนี้แล้ว คนไทยทั่วไปจะเสื่อมทรามขนาดไหน
เพราะฉะนั้น อย่ามามัวติอยู่เลยว่าพระเลวพระไม่ดี แต่ให้รีบได้สติ แล้วมองไปเถิด
ที่คนไทยทั่วไปเวลานี้ว่าแย่ขนาดไหน สภาพพระนี่เป็นดัชนีชี้สภาพสังคมไทย
ที่คนไทยจะต้องตื่นตัวลุกขึ้นมาแก้ไข
อย่าไปมัวมองพระสงฆ์ว่าไม่ได้ความอย่างนั้นอย่างนี้ แต่จงใช้สภาพนี้เป็นสัญญาณภัยที่เตือนให้หันมาดูตัวเอง ว่าสังคมไทยเดี๋ยวนี้วิปริตขนาดไหนแล้ว"
๖.ตามทางพุทธกิจ
หนังสือ ตามทางพุทธกิจ เขียนโดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เป็นหนังสือที่เล่าถึงการเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน เริ่มจาก พุทธคยา "สถานที่ตรัสรู้" เมืองราชคฤห์ "เวฬุวัน, เขาคิชฌกูฏ" เมืองนาลันทา "มหาวิทยาลัยนาลันทา" เมืองพาราณสี "เจาขัณฑีสถูป, สารนาถหรือป่าอิสิปตนมฤคทายวัน" เมืองกุสินารา "สถานที่ปรินิพพาน" เมืองสาวัตถี ถ้ำอชันต้า โดยสถานที่แต่ละแห่งนั้น พระเดชพระคุณได้พรรณนาถึงความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์พุทธศาสนาและสอดแทรกธรรมคติไว้อย่างพิสดาร แม้การเดินทางครั้งนี้จะมิได้ไปที่ลุมพินี สถานที่ประสูติก็ตาม
ข้อมูลหนังสือ
หนังสือพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) "๖ เล่ม"
ISBN : 77777777
แปลจากหนังสือ :
ผู้เขียน : พระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
ผู้แปล : -
สำนักพิมพ์ : ศยาม,ศูนย์ไทยธิเบต,มูลนิธิพุทธธรรม,พลมานัส,สยามปริทัศน์,มูลนิธิพุทธธรรม
จำนวนหน้า : ๘ เล่ม
ปีที่พิมพ์ : -
๑.สมาธิ : ฐานสู่สุขภาพจิตและสติปัญญาหยั่งรู้
ลักษณะเด่นที่สุดของจิตที่เป็นสมาธิ ซึ่งสัมพันธ์กับความมุ่งหมายของสมาธิด้วยก็คือ ความควรแก่งาน หรือความเหมาะสมแก่การใช้งาน และงานที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนาก็คือ งานทางปัญญา อันได้แก่การใช้จิตที่พร้อมดีเช่นนั้นเป็นสนามปฏิบัติการของปัญญา ในการพิจารณาสภาวธรรมให้เกิดความรู้แจ้งตามเป็นจริง สมาธิ : ฐานสู่สุขภาพจิตและสติปัญญาหยั่งรู้ เล่มนี้จึงน่าจะเป็นประโยชน์ในฐานะเป็นมรรควิธี ทั้งแก่ผู้ตั้งใจบำเพ็ญสมาธิภาวนาในระดับสูง หรือแม้แต่สามัญชนทั่วไปที่ประสงค์จะได้รับความสงบร่มเย็นในวิถีชีวิตประจำวัน
ถ้าสังคมของเรานิยมยกย่องวัตถุกันมากมันก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่คนจะต้องวัดดี (วัดความดีและผลดี) กันด้วยวัตถุ การที่สังคมไปนิยมยกย่องวัตถุมากไม่ใช่กรรมคนที่อยู่ในสังคมนั้นหรือ กรรมที่หมายถึงการกระทำนั้นรวมทั้งพูดและคิด ความคิดที่นิยมวัตถุนั้น เป็นกรรมใช่หรือไม่ ในหนังสือ เชื่อกรรม รู้กรรม แก้กรรม จะช่วยให้ท่านเข้าใจกรรมเหล่านี้มากยิ่งขึ้น
๓.กรณีธรรมกาย : บทเรียนเพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนา และสร้างสรรค์สังคมไทย
เนื่องในปัจจุบัน ลัทธิทุนนิยมและบริโภคนิยมได้ส่งผลกระทบต่อพระพุทธศาสนาในประเทศไทยเป็นอย่างมาก กอปรกับพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก ยังขาดความรู้และความเข้าใจในหลักธรรมและวินัย จึงเป็นการเปิดโอกาสให้นักบวชและผู้คนกลุ่มหนึ่งฉกฉวยโอกาสในการแสวงหาซึ่งลาภสักการะและยศ ด้วยการบิดเบือนหลักธรรมและวินัยให้สอดคล้องกับช่องทางผลประโยชน์ของตนและพวกพ้อง โดยอาศัยความอ่อนแอและความไม่รู้ของพุทธบริษัท
“ในเวลานี้ พุทธศาสนาในประเทศไทยอยูในระยะวิกฤต มีคณะที่สอนสัทธรรมอย่างคณะพระธรรมกายอยู่จำนวนมิใช่น้อย พระสงฆ์สาวกของพระบรมศาสดาก็มัวหมอง แม้กระนั้นยังโชคดี ที่มีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นสดมภ์หลักในยุคปัจจุบัน ที่มุ่งเผยแผ่คำสอนของพระบรมศาสดา ถึงท่านจะอาพาธอยู่เนือง ๆ แต่ก็ยังเขียนงานต่าง ๆ ออกมาเป็นแสงสว่างทางปัญญาให้ผู้คนในยุคที่เต็มไปด้วยความมืดมน ได้ศึกษาพระพุทธศาสนาอย่าลึกซึ้ง และถ่องแท้ต่อไป อย่างน้อยก็โดยเริ่มจาก กรณีพระธรรมกาย เล่มนี้”
ส.ศิวรักษ์
๔.พรที่สัมฤทธิ์แก่ผู้ดำเนินชีวิตที่ดี
ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ นั้นท่านเติบโตมาภายใต้ร่มกาสาวพัสตร์ของคณะสงฆ์สยาม ยามเมื่อสถาบันแห่งนั้นเริ่มเสื่อมทรามและคลอนแคนเรื่อยๆ มาเป็นลำดับ พระคุณเจ้าเป็นผลผลิตของระบบการศึกษาของสถาบันสงฆ์ทั้งแบบเก่าและแบบใหม่ โดยที่ท่านได้แสดงความเป็นเลิศออกมาให้ปรากฎทั้งสองทาง คือท่านได้เป็นเปรียญเอกอุแต่ยังเป็นสามเณร และได้รับเกียรตินิยมอันดับ 1 จากมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย แต่ท่านก็ไม่ได้ติดอยู่ในเกียรติยศจากทั้งสองทางนี้ พร้อมกันนี้ พระคุณท่านก็เจริญเนกขัมปฎิปทา รักษาพรหมจรรย์ไว้ได้อย่างมั่นคงตลอดจนล่วงปัจฉิมวัย
๕.สถานการณ์พระพุทธศาสนา : ทวนกระแสไสยศาสตร์
"เวลานี้ ถ้ามีใครมาถามเกี่ยวกับเหตุการณ์ร้ายในพระศาสนาที่เกิดขึ้นนี้ ต้องตอบว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ในแง่หนึ่งก็เป็นดัชนีชี้สภาพสังคมไทย
และชี้หลายอย่างหลายประการ
แง่ที่หนึ่งก็คือ ในสังคมไทยนั้น เราถือกันว่าพระสงฆ์เป็นผู้ที่มีศีลธรรมมากที่สุด
แล้วมองในทางย้อนกลับว่า ถ้าหากว่าพระสงฆ์ทื่ถือว่ามีศีลธรรมดีที่สุดในสังคมไทย ยังเสื่อมทรามถึงขนาดนี้แล้ว คนไทยทั่วไปจะเสื่อมทรามขนาดไหน
เพราะฉะนั้น อย่ามามัวติอยู่เลยว่าพระเลวพระไม่ดี แต่ให้รีบได้สติ แล้วมองไปเถิด
ที่คนไทยทั่วไปเวลานี้ว่าแย่ขนาดไหน สภาพพระนี่เป็นดัชนีชี้สภาพสังคมไทย
ที่คนไทยจะต้องตื่นตัวลุกขึ้นมาแก้ไข
อย่าไปมัวมองพระสงฆ์ว่าไม่ได้ความอย่างนั้นอย่างนี้ แต่จงใช้สภาพนี้เป็นสัญญาณภัยที่เตือนให้หันมาดูตัวเอง ว่าสังคมไทยเดี๋ยวนี้วิปริตขนาดไหนแล้ว"
หนังสือ ตามทางพุทธกิจ เขียนโดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เป็นหนังสือที่เล่าถึงการเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน เริ่มจาก พุทธคยา "สถานที่ตรัสรู้" เมืองราชคฤห์ "เวฬุวัน, เขาคิชฌกูฏ" เมืองนาลันทา "มหาวิทยาลัยนาลันทา" เมืองพาราณสี "เจาขัณฑีสถูป, สารนาถหรือป่าอิสิปตนมฤคทายวัน" เมืองกุสินารา "สถานที่ปรินิพพาน" เมืองสาวัตถี ถ้ำอชันต้า โดยสถานที่แต่ละแห่งนั้น พระเดชพระคุณได้พรรณนาถึงความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์พุทธศาสนาและสอดแทรกธรรมคติไว้อย่างพิสดาร แม้การเดินทางครั้งนี้จะมิได้ไปที่ลุมพินี สถานที่ประสูติก็ตาม