Kledthai.com

ตะกร้า 0

๑๐ ปัญญาชนสยาม เล่ม ๒ ปัญญาชนหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ (ปกแข็ง) สภาพ 70%

ISBN: 9786169174486

ผู้แต่ง : สายชล สัตยานุรักษ์

ผู้แปล : สายชล สัตยานุรักษ์

สำนักพิมพ์ : openbooks

ปีที่พิมพ์ : 2557

จำนวนหน้า : 644

ซีรี่ส์:
-
พร้อมส่ง
ISBN:
9786169174486
ราคาพิเศษ ฿477.00 ราคาปรกติ ฿795.00

หนังสือ 10 ปัญญาชนสยาม มุ่งวิเคาระห์และอธิบายการสร้างความหมาย “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย” โดยปัญญาชนสำคัญของชาติตั้งแต่รัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความรู้อันกว้างขวางลึกซึ้งและพลังทางปัญญาอันสูงส่งของชนชั้นนำไป ที่สามารถตอบสนองความจำเป็นทางการเมือง รวมทั้งตอบสนองต่อการท้าทายจากความคิด ความรู้ และอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดระยะเวลากว่าหนึ่งศตวรรษ

ขณะเดียวกันการวิเคราะห์และอธิบายการสร้างความหมาย “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย” โดยปัญญาชนสำคัญของชาติในหนังสือนี้ ยังสะท้อนให้เห็นด้วยว่า ความหมายของ “ชาติไทย” และ “ควมเป็นไทย” ที่ปัญญาชนสร้างขึ้น ได้กลายมาเป็น “ความจริง” คือทำให้เกิด “วัฒนธรรมแห่งชาติไทย” และ “วิธีคิดเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมไทย” ที่ทรงพลังขึ้นมา ดังนั้น หนังสือนี้จึงช่วยให้เข้าใจประวัติศาสตร์ “วัฒนธรรมแห่งชาติไทย” ที่เป็นรากฐานของความสัมพันธ์ทางสังคมและความสัมพันธ์เชิงอำนาจในรัฐไทย และยังช่วยให้เข้าใจ “วิธีคิดเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมไทย” ของคนไทย ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบอย่างลึกซึ้งและไพศาล เพราะนอกจากจะกำหนดวิถีคิดในการอธิบายปัญหาและวิถีทางในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในสังคมไทยแล้ว ยังมีผลต่อแนวทางในการพัฒนาประเทศที่มุ่งหมายสร้างความเจริญทางวัตถุแบบตะวันตกโดยรักษา “ความเป็นไทยทางจิตใจ” เอาไว้ด้วย

ผู้เขียนหวังว่าความเข้าใจอย่างชัดเจนถึงที่มาของ “วัฒนธรรมแห่งชาติ” และวิธีคิดของคนไทยเกี่ยวกับ “สังคมและวัฒนธรรมไทย” ตลอดจนผลกระทบที่ตามมา จะก่อให้เกิดความตระหนักอย่างแท้จริงว่าในปัจจุบันวัฒนธรรมแห่งชาติของไทยและวิธีคิดในกรอบของ “ความเป็นไทย” เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่สำคัญประการหนึ่งซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการปฏิรูปไม่น้อยไปกว่าโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการเมือง

หนังสือ 10 ปัญญาชนสยาม มุ่งวิเคาระห์และอธิบายการสร้างความหมาย “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย” โดยปัญญาชนสำคัญของชาติตั้งแต่รัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความรู้อันกว้างขวางลึกซึ้งและพลังทางปัญญาอันสูงส่งของชนชั้นนำไป ที่สามารถตอบสนองความจำเป็นทางการเมือง รวมทั้งตอบสนองต่อการท้าทายจากความคิด ความรู้ และอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดระยะเวลากว่าหนึ่งศตวรรษ

 

ขณะเดียวกันการวิเคราะห์และอธิบายการสร้างความหมาย “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย” โดยปัญญาชนสำคัญของชาติในหนังสือนี้ ยังสะท้อนให้เห็นด้วยว่า ความหมายของ “ชาติไทย” และ “ควมเป็นไทย” ที่ปัญญาชนสร้างขึ้น ได้กลายมาเป็น “ความจริง” คือทำให้เกิด “วัฒนธรรมแห่งชาติไทย” และ “วิธีคิดเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมไทย” ที่ทรงพลังขึ้นมา ดังนั้น หนังสือนี้จึงช่วยให้เข้าใจประวัติศาสตร์ “วัฒนธรรมแห่งชาติไทย” ที่เป็นรากฐานของความสัมพันธ์ทางสังคมและความสัมพันธ์เชิงอำนาจในรัฐไทย และยังช่วยให้เข้าใจ “วิธีคิดเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมไทย” ของคนไทย ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบอย่างลึกซึ้งและไพศาล เพราะนอกจากจะกำหนดวิถีคิดในการอธิบายปัญหาและวิถีทางในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในสังคมไทยแล้ว ยังมีผลต่อแนวทางในการพัฒนาประเทศที่มุ่งหมายสร้างความเจริญทางวัตถุแบบตะวันตกโดยรักษา “ความเป็นไทยทางจิตใจ” เอาไว้ด้วย

 

ผู้เขียนหวังว่าความเข้าใจอย่างชัดเจนถึงที่มาของ “วัฒนธรรมแห่งชาติ” และวิธีคิดของคนไทยเกี่ยวกับ “สังคมและวัฒนธรรมไทย” ตลอดจนผลกระทบที่ตามมา จะก่อให้เกิดความตระหนักอย่างแท้จริงว่าในปัจจุบันวัฒนธรรมแห่งชาติของไทยและวิธีคิดในกรอบของ “ความเป็นไทย” เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่สำคัญประการหนึ่งซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการปฏิรูปไม่น้อยไปกว่าโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการเมือง

 

สารบัญ

 

  • ภาคที่สอง (การสืบทอดและการปรับเปลี่ยนความหมายของ “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย” โดยปัญญาชนภายหลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 ถึงปัจจุบัน
  • บทที่ 6 (การสืบทอดและการปรับเปลี่ยนความหมายของ “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย” โดยหลวงวิจิตรวาทการ
  • บทที่ 7 (การสืบทอดและการปรับเปลี่ยนของความหมายของ “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย” โดยพระยาอนุมานราชธน
  • บทที่ 8  (การสืบทอดและการปรับเปลี่ยนของความหมายของ “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย” โดยพระยาเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์)
  • บทที่ 9 (การสืบทอดและการปรับเปลี่ยนของความหมายของ “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย” โดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
  • ภาคที่สาม (การปรับเปลี่ยนและการตอบโต้ช่วงชิงความหมายของ “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย”
  • บทที่ 10 (การสืบทอดและการปรับเปลี่ยนของความหมายของ “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย” โดยสุลักษณ์ ศิวรักษ์
  • บทที่ 11 (การโต้ตอบช่วงชิงความหมายของ “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย” และชัยชนะของความคิดกระแสหลัก
  • บทที่ 12 (บทสรุปการสืบทอดและการปรับเปลี่ยนความหมายของ “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย” โดยปัญญาชนในรอบศตวรรษ “พ.ศ. 2435-2535)
เขียนรีวิวสินค้าของคุณเอง
คุณกำลังรีวิว:๑๐ ปัญญาชนสยาม เล่ม ๒ ปัญญาชนหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ (ปกแข็ง) สภาพ 70%
คะแนนของคุณ