Kledthai.com

ตะกร้า 0

นี่คือปณิธานที่หาญมุ่ง (ปกอ่อน)

ISBN: 9786167667737

ผู้แต่ง : สมชาย ปรีชาศิลปกุล

ผู้แปล : -

สำนักพิมพ์ : ฟ้าเดียวกัน

ปีที่พิมพ์ : 2561

จำนวนหน้า : 367

ซีรี่ส์:
หนังสือชุดกษัตริย์ศึกษา
พร้อมส่ง
ISBN:
9786167667737
ราคาพิเศษ ฿360.00 ราคาปรกติ ฿400.00

"นี่คือปณิธานที่หาญมุ่ง : ข้อถกเถียงว่าด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์ในองค์กรจัดทำรัฐธรรมนูญของไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2475-2550" เล่มนี้ เป็นผลงานของ "สมชาย ปรีชาศิลปกุล" และเป็นหนังสือเล่มที่ 3 ของ "ชุด กษัตริย์ศึกษา" ซึ่งผู้เขียนไม่เพียงแต่เข้าไป "อ่าน" รายงานการประชุมสภา/กรรมาธิการ เพื่อให้เห็นการอภิปรายและไม่อภิปรายเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับต่าง ๆ ตลอดเวลา 75 ปี (2475-2550) แต่สมชายยังชี้ให้เห็นถึงการต่อสู้ทางการเมืองที่ต่อเนื่องมาจากตั้งแต่การปฏิวัติสยาม 24 มิถุนายน 2475 มาจนถึงปัจจุบัน

และถึงแม้ว่าการศึกษาของหนังสือเล่มนี้จะจบที่รัฐธรรมนูญ 2550 แต่โดยทิศทางแล้วก็จะเห็นว่าไม่แปลกที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ที่ประกอบพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญ และประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 จะมีเนื้อหาออกมาดังที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน หากเราจะเข้าใจสังคมไทย เราคงละเลยไม่ได้ที่จะต้องศึกษาบทบาทของสถาบันกษัตริย์ในมิติต่าง ๆ ทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และนี่จึงเป็นเหตุผลหนึ่งในการจัดทำหนังสือชุดกษัตริย์ศึกษาและจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้

คำนำสำนักพิมพ์

เหตุฉะนั้น ราษฎร ข้าราชการ ทหาร และพลเรือน ที่รู้เท่าถึงการกระทำอันชั่วร้ายของรัฐบาลดังกล่าวแล้ว จึงรวมกำลังตั้งเป็นคณะราษฎรขึ้น และได้ยึดอำนาจของกษัตริย์ไว้ได้แล้ว คณะราษฎรเห็นว่าการที่จะแก้ความชั่วร้ายนี้ได้ก็โดยที่จะต้องจัดการปกครองโดยมีสภา จะได้ช่วยกันปรึกษาหารือหลายๆ ความคิดดีกว่าความคิดเดียว ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น คณะราษฎรไม่ประสงค์ทำการแย่งชิงราชสมบัติ ฉะนั้น จึงได้อัญเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกจากด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร
ประกาศคณะราษฎร, 24 มิถุนายน 2475

ก่อนวันที่ 24 มิถุนายน 2475 แทบจะไม่มีข้อถกเถียงเกี่ยวกับสถานะของสถาบันกษัตริย์ในทางสาธารณะเพราะว่าพระมหากษัตริย์เป็นทั้งเทวราชา และเจ้าชีวิต คงมีแต่ข้อขัดแย้งว่าใครคนไหน หรือราชวงศ์ใดมีความชอบธรรมที่จะครองราชย์ การปฏิวัติสยาม 24 มิถุนายน 2475 จึงถือว่าเป็นหมุดหมายสำคัญที่ขีดเส้นแบ่งสถานะของสถาบันกษัตริย์ในสังคมไทย เพราะว่าการที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ตอบรับคณะราษฎรมาเป็น “พระมหากษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ” หมายความว่าหลังจากนั้นในทางนิตินัยพระมหากษัตริย์ต้องอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ส่วนอำนาจจะมากหรือน้อยเพียงใดก็แล้วแต่รัฐธรรมนูญจะบัญญัติ


พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของสยามในมาตรา 7 ระบุว่า “การกระทำใดๆ ของกษัตริย์ต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดลงนามด้วย โดยได้รับความยินยอมของคณะกรรมการราษฎรจึ่งจะใช้ได้ มิฉะนั้น เป็นโมฆะ” ซึ่งหลักการนี้เป็นเช่นเดียวกับนานาอารยะประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย คือหลัก The King Can Do No Wrong


นับตั้งแต่การปฏิวัติสยาม 2475 มาจนถึงปัจจุบัน (2561) ผ่านมา 86 ปี เรามีรัฐธรรมนูญแล้ว 20 ฉบับ ซึ่งมีการกำหนดบทบาทและสถานะของสถาบันกษัตริย์ในฐานะสถาบันการเมืองตามรัฐธรรมนูญที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับบริบทการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในช่วงนั้นๆ ไม่ต่างจากรัฐสภา ครม. รูปแบบการเลือกตั้ง ฯลฯ
อย่างที่ทราบคือรัฐบาลคณะราษฎรนั้นสิ้นสุดลงเมื่อมีปฏิบัติการ “คว่ำปฏิวัติ–โค่นคณะราษฎร” โดยการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 แล้วแทนที่ด้วยรัฐธรรมนูญ 2490 หลังจากนั้น เราจึงได้เห็นความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์มากมายในทางที่จะเพิ่ม/ขยายอำนาจของสถาบันกษัตริย์ดังปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ เริ่มจากการตีความอำนาจอธิปไตยใหม่, สถานะอันล่วงละเมิดมิได้, พระราชอำนาจในการยับยั้งกฎหมาย, การสืบราชสมบัติ ตลอดจนประดิษฐกรรมใหม่ๆ ที่ไม่เคยเจอตลอด 15 ปีแรกหลังปฏิวัติสยาม เช่น อภิรัฐมนตรี (ซึ่งต่อมาได้ปรับโฉมเป็นคณะองคมนตรี) เป็นต้น


นี่คือปณิธานที่หาญมุ่ง : ข้อถกเถียงว่าด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์ในองค์กรจัดทำรัฐธรรมนูญของไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2475-2550 ผลงานของสมชาย ปรีชาศิลปกุล ซึ่งเป็นหนังสือเล่มที่ 3 ของชุดกษัตริย์ศึกษา สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ไม่เพียงแต่เข้าไป “อ่าน” รายงานการประชุมสภา/กรรมาธิการ เพื่อให้เห็นการอภิปรายและไม่อภิปรายเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ ตลอดเวลา 75 ปี (2475-2550) สมชายยังชี้ให้เห็นถึงการต่อสู้ทางการเมืองที่ต่อเนื่องมาจากตั้งแต่การปฏิวัติสยาม 24 มิถุนายน 2475 มาจนถึงปัจจุบัน และถึงแม้ว่าการศึกษาของหนังสือเล่มนี้จะจบที่รัฐธรรมนูญ 2550 แต่โดยทิศทางแล้วก็จะเห็นว่าไม่แปลกที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ที่ประกอบพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญและประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 จะมีเนื้อหาออกมาดังที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน


สุดท้ายเรายังยืนยันว่า หากเราจะเข้าใจสังคมไทย เราคงละเลยไม่ได้ที่จะต้องศึกษาบทบาทของสถาบันกษัตริย์ในมิติต่างๆ ทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และนี่จึงเป็นเหตุผลหนึ่งในการจัดทำหนังสือชุดกษัตริย์ศึกษาและตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้

สารบัญ

บทที่ 1 บทเริ่มต้น
บทที่ 2 อำนาจอธิปไตยนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย
บทที่ 3 อันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้
บทที่ 4 พระราชอำนาจวีโต้ร่างกฎหมาย
บทที่ 5 การสืบราชสมบัติภายใต้ระบอบประชาธิปไตย
บทที่ 6 จากองคมนตรีสู่สภาที่ปรึกษาในพระองค์จำแลง
บทที่ 7 ในฐานะประมุขแห่งกองทัพ
บทที่ 8 การประกอบสร้างระบอบ "อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" ในรัฐธรรมนูญไทย

- บทส่งท้าย ฤๅเปลี่ยนผ่านสู่ปฐมบทแห่งยุค "หลังระบอบประชาธิปไตย" อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

เขียนรีวิวสินค้าของคุณเอง
คุณกำลังรีวิว:นี่คือปณิธานที่หาญมุ่ง (ปกอ่อน)
คะแนนของคุณ